ลักษณะที่สำคัญ
1.มีสมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (asymmetry)
2.ผนังตัวของฟองน้ำประกอบด้วยเซลล์ที่มาเรียงตัวเป็นชั้นของเซลล์
2 ชั้น คือชั้นเซลล์ผิว ด้านนอก หรือเอพิเดอมิส (epidermis)
ประกอบด้วยเซลล์เพียงชนิดเดียว คือ พินาโคไซท์ (pinacocyte) จึงอาจเรียกเซลล์ผิวนี้ว่า พินาโคเดิร์ม (pinacoderm) ส่วนด้านเซลล์บุช่องกลางตัว คือ โคเอโนไซท์ (choanocyte or collar
cell ) จึงเรียกว่า โคเอโนเดิร์ม (choanoderm) โคเอโนไซท์เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายปลอกคอ มีแส้ (flagellum) 1 เส้น ทำหน้าที่ ให้น้ำไหลเวียนและย่อยอาหาร ระหว่างชั้นของเซลล์ 2 ชั้นนี้จะมีสารคล้ายวุ้น (gelatinous matrix) แทรกอยู่
ซึ่งจะมีเซลล์ที่เคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid cell) หรืออะมีโบไซท์
(amoebocyte) เรียกชั้นนี้ว่า มีโซฮิล (mesohyl) หรือมีเซนไคม์ (mesenchyme)
3.ฟองน้ำมีระบบโครงร่างค้ำจุนให้คงรูปอยู่ได้
บางชนิดแข็งเรียกว่า ขวาก (spicule) ซึ่งมักเป็น หินปูน
และซิลิกา (silica) เช่น ฟองน้ำหินปูน ฟองน้ำแก้ว
บางชนิดเป็นเส้นใยโปรตีน เรียกว่า สพองจิน (spongin) ได้แก่
ฟองน้ำถูตัว
4.ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย
และระบบประสาท ซึ่งจะอาศัยการไหลเวียนน้ำเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้
ฟองน้ำกินอาหารโดยกรองอาหารที่อยู่ในน้ำผ่านเข้ารูพรุนรอบตัว
หายใจโดยการดูดซึมออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำผ่านผนังลำตัว
5.มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
โดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน และจะได้ตัวอ่อนที่มีซิเลียว่ายน้ำได้
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (budding)
6.ตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่ (sessile animal)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น